ข้อคำนึงในงานโครงสร้างเหล็ก
วัสดุเหล็ก และ งานโครงสร้างเหล็ก
ณ ปัจจุบัน โครงสร้างที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือบ้านที่เป็นที่นิยมในประเทศไทยนั้น จะสามารถแบ่งงานประเภทโครงสร้างได้เป็น 2 โครงสร้างหลักๆคือ โครงสร้างเหล็ก และ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยที่เป็นที่นิยมในกลุ่มช่างในประเทศไทยและที่เห็นได้ทั่วไปจะเป็น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นโครงสร้างที่มีต้นทุนในการก่อสร้างที่ถูกกว่า โครงสร้างที่มีการใช้เหล็กล้วนๆ นอกจากนี้เนื่องจากการใช้โครงสร้างเหล็กล้วนต้องมีเครื่องมือในการเชื่อมหรือยึดเหล็กเข้าด้วยกันอย่างมีระบบซึ่งมีต้นทุนในการลงทุนสูงกว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทำให้มีผู้รับเหมาที่รับงานโครงสร้างเหล็กในท้องตลาดจำนวนและสัดส่วนที่น้อยกว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าวโครงสร้างเหล็กล้วนจึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก นอกจากนี้ต้นเหตุที่ประเทศไทยมีความชำนาญในการก่อสร้างด้วยโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กยังมีผลเนื่องมาจากในอดีตประเทศไทยไม่สามารถผลิตเหล็กรูปได้ในประเทศจึงจำเป็นต้องนำเข้าเหล็กมาจากต่างประเทศซึ่งทำให้ต้นทุนสูงและมีความยุ่งยากในการจัดการ แต่ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2538 นั้นเริ่มมีนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสทางด้านธุรกิจและลงทุนสร้างโรงงานผลิตเหล็กรูปแบบต่างๆในภายในประเทศซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนที่จับต้องได้ จึงส่งผลทำให้ตั้งแต่ตอนนั้นมาโครงสร้างเหล็กก็เริ่มเข้ามาเป็นที่นิยมในประเทศไทยของเรา และ เหล็กรูปพรรณจึงมีบทบาทมากขึ้นในวงการก่อสร้างของประเทศไทย
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างเหล็ก กับ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นมีการใช้งานวัสดุประเภทเหล็กเหมือนกันเพียงแต่เป็นการใช้งานวัสดุกลุ่มเหล็กเส้นเป็นหลัก โดยหน้าที่หลักของเหล็กเส้นคือการเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับคอนกรีตสำเร็จที่ใช้กับกับตัวโครงสร้างของอาคารอาทิเช่น เสา คาน พื้น และอื่นๆ
เหล็กเส้น
- เหล็กเส้นกลม (RB)
- เหล็กข้ออ้อย (DB)
โครงสร้างเหล็ก
ในอีกขณะหนึ่งโครงสร้างเหล็กล้วน หรือ โครงสร้างเหล็กรูปพรรณนั้นจะแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นการนำเหล็กรูปพรรณรีดร้อน ทั้งเหล็ก แป๊ป เหล็กกล่อง เหล็กตัวซี เหล็กเอชบีม เหล็กไอบีม และอื่นๆมาประกอบกันในการทำ เสา คาน และหลังคา โดยข้อดีของการใช้โครงสร้างที่เป็นเหล็กทั้งหมดนั้นคือความยืดหยุ่นและความแข็งแรงสูง รวมถึงวิธีการก่อสร้างที่เป็นงานแห้งไม่ต้องรอให้คอนกรีตมีการเซ็ทตัว นอกจากนี้ยังเป็นรูปแบบโครงสร้างที่ต้องใช้เครื่องมือในการเชื่อมต่อและยึดติดเหล็กเข้าด้วยกันเป็นหลักรวมถึงน้ำหนักที่เบาจึงทำให้ผลงานที่ออกมามีความเนี๊ยบและคมชัดมากกว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วๆไป
โดยเหล็กที่ใช้ในงานโครงสร้างเหล็กนั้นสามารถแบ่งออกเป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อน และ เหล็กรูปพรรณรีดเย็น ได้แก่
เหล็กรูปพรรณรีดร้อน
- เหล็กไอบีม (I – beam)
- เหล็กเอชบีม (H – beam)
- เหล็กรางน้ำ (Channel)
- เหล็กฉาก (Angle)
- เหล็กทีบีม (T – beam) หรือ คัทบีม (Cut beam)
- เหล็กไวด์แฟรงค์
เหล็กรูปพรรณรีดเย็น
- เหล็กกล่อง (Steel square pipes)
- เหล็กตัวซี (Light lip channel)
- เหล็กท่อกลม
- เหล็กฉากพับ (Cold formed channel)
โครงสร้างเหล็ก ในงานหลังคา
- เหล็กรางน้ำ ในการทำแปหลังคา เชิงชายหลังคา
- เหล็กคัทบีม ในการทำส่วนของโครงถัก
- เหล็กตัวซี ในการทำส่วนแปหลังคา
- เหล็กกล่อง เหล็กท่อกลม ในงานโครงสร้างส่วนอื่นๆของหลังคา
โครงสร้างเหล็กในงานเสา และ คาน
- เหล็กเอชบีม และ เหล็กไอบีม
(Tips : สำหรับการใช้เหล็กสำหรับงานโครงสร้างอาคาร และ โครงสร้างเหล็กนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เหล็กเอชบีมมากกว่าเนื่องจากคุณสมบัติของเหล็กเอชบีมนั้นมีความหนาที่คงที่ และมีความตรงเรียบทำให้สามารถรับแรงได้อย่างดี ในขณะเดียวกันเหล็กไอบีมนั้นมักจะใช้ในงานโครงสร้างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือใช้ในการทำเครน จึงทำให้เหล็กไอบีมมีราคาที่สูงมากกว่าเหล็กเอชบีม )
โครงสร้างเหล็ก ในงานพื้น
- เหล็กคัทบีม ในงานคานโครงสร้างรองรับพื้นอาคาร และ โครงสร้างกันสาด
- เหล็กกล่อง ในงานโครงสร้างพื้น
โครงสร้างเหล็ก ในงานผนัง
- เหล็กกล่อง
- เหล็กกัลวาไนซ์
โดยในการวางโครงสร้างเหล็ก จำเป็นที่จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางโครงสร้าง โดยต้องคำนึงทั้งขนาด หน้าตัด ความหนา และน้ำหนัก เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อระยะการติดตั้งเหล็กรูปพรรณเหล่านี้ จะต้องผ่านการคำนวณจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่นอกจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว คุณภาพ มาตรฐานของเหล็กเอง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องได้รับการใส่ใจ โดยจำเป็นที่จะต้องใช้เหล็กที่ได้ มาตรฐาน มอก. เพื่อให้ได้บ้านที่มีคุณภาพ และ ความปลอดภัย
มาตรฐานของเหล็กรูปพรรณในงานก่อสร้างโครงสร้างเหล็ก
มาตรฐาน เหล็กรูปพรรณรีดร้อน จะมีทั้งหมด 7 ชั้นคุณภาพ คือ SM400 SM490 SM520 SM570 SS400 SS490 และ SS540 แบ่งตามรูปภาคตัดออกเป็น 5 แบบ ส่วนขนาดและความหนา ความยาว ต้องเป็นไปตาม มอก. 1227 – 2539
สำหรับ มาตรฐาน เหล็กรูปพรรณรีดเย็น จะมีชั้นคุณภาพ 1 ชั้นคุณภาพ คือ SSC400 แบ่งตามรูปภาคตัดออกเป็น 5 แบบ โดยจะต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตาม มอก. 1228 – 2549
แหล่งที่มา: https://www.onestockhome.com
ข้อคำนึงในงานโครงสร้างเหล็ก
วัสดุเหล็ก และ งานโครงสร้างเหล็ก
ณ ปัจจุบัน โครงสร้างที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือบ้านที่เป็นที่นิยมในประเทศไทยนั้น จะสามารถแบ่งงานประเภทโครงสร้างได้เป็น 2 โครงสร้างหลักๆคือ โครงสร้างเหล็ก และ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยที่เป็นที่นิยมในกลุ่มช่างในประเทศไทยและที่เห็นได้ทั่วไปจะเป็น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นโครงสร้างที่มีต้นทุนในการก่อสร้างที่ถูกกว่า โครงสร้างที่มีการใช้เหล็กล้วนๆ นอกจากนี้เนื่องจากการใช้โครงสร้างเหล็กล้วนต้องมีเครื่องมือในการเชื่อมหรือยึดเหล็กเข้าด้วยกันอย่างมีระบบซึ่งมีต้นทุนในการลงทุนสูงกว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทำให้มีผู้รับเหมาที่รับงานโครงสร้างเหล็กในท้องตลาดจำนวนและสัดส่วนที่น้อยกว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าวโครงสร้างเหล็กล้วนจึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก นอกจากนี้ต้นเหตุที่ประเทศไทยมีความชำนาญในการก่อสร้างด้วยโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กยังมีผลเนื่องมาจากในอดีตประเทศไทยไม่สามารถผลิตเหล็กรูปได้ในประเทศจึงจำเป็นต้องนำเข้าเหล็กมาจากต่างประเทศซึ่งทำให้ต้นทุนสูงและมีความยุ่งยากในการจัดการ แต่ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2538 นั้นเริ่มมีนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสทางด้านธุรกิจและลงทุนสร้างโรงงานผลิตเหล็กรูปแบบต่างๆในภายในประเทศซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนที่จับต้องได้ จึงส่งผลทำให้ตั้งแต่ตอนนั้นมาโครงสร้างเหล็กก็เริ่มเข้ามาเป็นที่นิยมในประเทศไทยของเรา และ เหล็กรูปพรรณจึงมีบทบาทมากขึ้นในวงการก่อสร้างของประเทศไทย
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างเหล็ก กับ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นมีการใช้งานวัสดุประเภทเหล็กเหมือนกันเพียงแต่เป็นการใช้งานวัสดุกลุ่มเหล็กเส้นเป็นหลัก โดยหน้าที่หลักของเหล็กเส้นคือการเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับคอนกรีตสำเร็จที่ใช้กับกับตัวโครงสร้างของอาคารอาทิเช่น เสา คาน พื้น และอื่นๆ
เหล็กเส้น
- เหล็กเส้นกลม (RB)
- เหล็กข้ออ้อย (DB)
โครงสร้างเหล็ก
ในอีกขณะหนึ่งโครงสร้างเหล็กล้วน หรือ โครงสร้างเหล็กรูปพรรณนั้นจะแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นการนำเหล็กรูปพรรณรีดร้อน ทั้งเหล็ก แป๊ป เหล็กกล่อง เหล็กตัวซี เหล็กเอชบีม เหล็กไอบีม และอื่นๆมาประกอบกันในการทำ เสา คาน และหลังคา โดยข้อดีของการใช้โครงสร้างที่เป็นเหล็กทั้งหมดนั้นคือความยืดหยุ่นและความแข็งแรงสูง รวมถึงวิธีการก่อสร้างที่เป็นงานแห้งไม่ต้องรอให้คอนกรีตมีการเซ็ทตัว นอกจากนี้ยังเป็นรูปแบบโครงสร้างที่ต้องใช้เครื่องมือในการเชื่อมต่อและยึดติดเหล็กเข้าด้วยกันเป็นหลักรวมถึงน้ำหนักที่เบาจึงทำให้ผลงานที่ออกมามีความเนี๊ยบและคมชัดมากกว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วๆไป
โดยเหล็กที่ใช้ในงานโครงสร้างเหล็กนั้นสามารถแบ่งออกเป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อน และ เหล็กรูปพรรณรีดเย็น ได้แก่
เหล็กรูปพรรณรีดร้อน
- เหล็กไอบีม (I – beam)
- เหล็กเอชบีม (H – beam)
- เหล็กรางน้ำ (Channel)
- เหล็กฉาก (Angle)
- เหล็กทีบีม (T – beam) หรือ คัทบีม (Cut beam)
- เหล็กไวด์แฟรงค์
เหล็กรูปพรรณรีดเย็น
- เหล็กกล่อง (Steel square pipes)
- เหล็กตัวซี (Light lip channel)
- เหล็กท่อกลม
- เหล็กฉากพับ (Cold formed channel)
โครงสร้างเหล็ก ในงานหลังคา
- เหล็กรางน้ำ ในการทำแปหลังคา เชิงชายหลังคา
- เหล็กคัทบีม ในการทำส่วนของโครงถัก
- เหล็กตัวซี ในการทำส่วนแปหลังคา
- เหล็กกล่อง เหล็กท่อกลม ในงานโครงสร้างส่วนอื่นๆของหลังคา
โครงสร้างเหล็กในงานเสา และ คาน
- เหล็กเอชบีม และ เหล็กไอบีม
(Tips : สำหรับการใช้เหล็กสำหรับงานโครงสร้างอาคาร และ โครงสร้างเหล็กนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เหล็กเอชบีมมากกว่าเนื่องจากคุณสมบัติของเหล็กเอชบีมนั้นมีความหนาที่คงที่ และมีความตรงเรียบทำให้สามารถรับแรงได้อย่างดี ในขณะเดียวกันเหล็กไอบีมนั้นมักจะใช้ในงานโครงสร้างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือใช้ในการทำเครน จึงทำให้เหล็กไอบีมมีราคาที่สูงมากกว่าเหล็กเอชบีม )
โครงสร้างเหล็ก ในงานพื้น
- เหล็กคัทบีม ในงานคานโครงสร้างรองรับพื้นอาคาร และ โครงสร้างกันสาด
- เหล็กกล่อง ในงานโครงสร้างพื้น
โครงสร้างเหล็ก ในงานผนัง
- เหล็กกล่อง
- เหล็กกัลวาไนซ์
โดยในการวางโครงสร้างเหล็ก จำเป็นที่จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางโครงสร้าง โดยต้องคำนึงทั้งขนาด หน้าตัด ความหนา และน้ำหนัก เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อระยะการติดตั้งเหล็กรูปพรรณเหล่านี้ จะต้องผ่านการคำนวณจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่นอกจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว คุณภาพ มาตรฐานของเหล็กเอง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องได้รับการใส่ใจ โดยจำเป็นที่จะต้องใช้เหล็กที่ได้ มาตรฐาน มอก. เพื่อให้ได้บ้านที่มีคุณภาพ และ ความปลอดภัย
มาตรฐานของเหล็กรูปพรรณในงานก่อสร้างโครงสร้างเหล็ก
มาตรฐาน เหล็กรูปพรรณรีดร้อน จะมีทั้งหมด 7 ชั้นคุณภาพ คือ SM400 SM490 SM520 SM570 SS400 SS490 และ SS540 แบ่งตามรูปภาคตัดออกเป็น 5 แบบ ส่วนขนาดและความหนา ความยาว ต้องเป็นไปตาม มอก. 1227 – 2539
สำหรับ มาตรฐาน เหล็กรูปพรรณรีดเย็น จะมีชั้นคุณภาพ 1 ชั้นคุณภาพ คือ SSC400 แบ่งตามรูปภาคตัดออกเป็น 5 แบบ โดยจะต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตาม มอก. 1228 – 2549
แหล่งที่มา: https://www.onestockhome.com
ระบบสายพานลำเลียง (Conveyor)
สายพานลำเลียง ( Conveyor Belt )
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แรงขับจากมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้สายพานเคลื่อนตัวไปอย่างต่อเนื่อง โดยวัสดุที่ใช้ในการลำเลียงจะวางอยู่บนสายพาน หรือบนลูกกลิ้งที่ขับหมุนด้วยสายพานเคลื่อนที่ ในการเคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งแบบต่อเนื่องและหยุดชะงัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการควบคุมในการขนย้าย ได้ทั้งระยะสั้น ระยะยาว แนวระดับ แนวลาดเอียงขึ้น และลาดเอียงลง โดยสามารถเลือกปรับระดับความเร็วได้
ดังนั้นระบบสายพานลำเลียง จึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยา อุตสาหกรรมผลิตอาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น
ส่วนประกอบของสายพานลำเลียง
1. ยางผิวบน (Top Cover) มีหน้าที่รองรับวัสดุขนถ่ายและป้องกันการเสียหายของชั้นผ้าใบรับแรงและยังมีคุณสมบัติป้องกันแรงกระแทก ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันน้ำมัน ป้องกันความร้อน โดยยางผิวบนมีหลายชนิดให้เลือกใช้งานขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน
2. ชั้นผ้าใบรับแรง (Carcass) มีหน้าที่เป็นแกนรับแรงดึงของสายพานทั้งเส้น และช่วยกระจายแรงดึงของสายพาน เมื่อทำการลำเลียงวัสดุอีกด้วย
3. ชั้นยางประสานผ้าใบ (Skim Rubber) มีหน้าที่ประสานชั้นผ้าใบแต่ละชั้นเข้าด้วยกัน
4. ยางผิวล่าง (Bottom Cover) มีหน้าที่ป้องกันชั้นผ้าใบรับแรงไม่ให้เสียหายจากการเสียดสีกับลูกกลิ้ง (Idler) และพูลเลย์ ดังนั้นความหนาของยางผิวล่างจึงไม่จำเป็นต้องหนาเท่ากับยางผิวบน เพราะไม่ได้รับภาระหนักเหมือนยางผิวบน
ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยสายพาน มีส่วนประกอบสำคัญดังนี้
- แรงกระทำสม่ำเสมอและคงที่
- วัสดุเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง
- เส้นทางไม่ได้เปลี่ยนแปลง
- อัตราการเคลื่อนย้ายแน่นอน
- สามารถข้ามสิ่งกีดขวางได้
- จำเป็นต้องใช้การนับอย่างอัตโนมัติ การแยกจำพวกการชั่งน้ำหนัก
- ต้องมีการเก็บตัวเลขคงคลัง และการตรวจสอบเพื่อควบคุมการผลิต
- ต้องการควบคุมการไหล
- ขนถ่ายวัสดุที่มีการเสี่ยงต่ออันตราย
- ขนถ่ายวัสดุที่มีอุณหภูมิสูง และใช้ในพื้นที่ที่อันตราย
ประเภทของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt)
1. แบ่งตามประเภทของผิว (Cover Rubber) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้ 2 ประเภท
1.1 ประเภทใช้งานทั่วไป (General Use Conveyor Belt) หรือเรียกว่า สายพานทนสึก (Wear Resistance Conveyor Belt)
1.2 ประเภทใช้งานแบบพิเศษ (Special Conveyor Belt) มีหลายแบบ เช่น สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) สายพานทนน้ำมัน/ไขมัน/จาระบี (Oil Fat/Grease Resistant Conveyor Belt) สายพานทนเปลวไฟ (Flame Resistant Belt) สายพานทนความเย็น (Cold Resistant Belt) สายพานทนสารเคมี (Chemical Resistant Conveyor Belt) สายพานมีคุณสมบัติป้องกันกระแสไฟฟ้าสถิต และสายพานสำหรับลำเลียงอาหาร (Food Grade)
2. แบ่งตามประเภทของวัสดุที่ใช้รับแรง (Tension Member) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้ 2 ประเภท
2.1 สายพานผ้าใบ (Fabric Conveyor Belt) วัสดุที่ใช้รับแรง (Tension Member) ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ กันไป เรียกรวม ๆ กันว่าผ้าใบ เช่น Cotton Nylon EP (Polyester/Nylon หรือเรียกว่า PN และ Kevlar (Aramid) และ Fiberglass
2.2 สายพานลวดสลิง (Steel Cord Conveyor Belt) คือสายพานที่มีวัสดุรับแรง เป็นเส้นลวด (Steel Cord)
3. แบ่งตามประเภทของลักษณะของผิวหน้า (Rubber Cover Surface) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้ 3 ประเภท
3.1 แบบผิวหน้าเรียบ (Plain Surface) ใช้ลำเลียงวัสดุในแนวราบหรือเอียงเล็กน้อยใช้ในงานทั่ว ๆ ไป ในประเทศไทยเราน่าจะใช้สายพานแบบนี้มากกว่าร้อยละ 80
3.2 แบบบั้ง (Pattern Surface) มีหลายลักษณะ (Pattern) เรียกว่าก้างปลา จะมีสัน (Cleat) บนตัวสาย พานใช้ลำเลียงวัสดุในแนวราบหรือเอียงได้ดีกว่าแบบผิวเรียบ แต่ราคาก็แพง ก่อนซื้อต้องรู้ว่าวัสดุที่ลำเลียงสามารถขึ้นได้สูงกี่องศา ถ้ามุมเอียงของระบบสายพาน (Conveyor System) มีมากว่ามุมกองของวัสดุ ๆ อาจจะไหลกลับเดี๋ยวเสียเงินฟรี ๆ
3.3 แบบผิวหน้าพิเศษหรือมีโครงสร้างแบบพิเศษ ตามลักษณะการใช้งาน เช่น Sidewall Belt และ Pipe Conveyor Belt เรื่องนี้เป็นเรื่องพิเศษหัวข้อนี้เราจะไม่ลงลึกในเนื้อหาแต่หากท่านใดอยากรู้หรือมีการใช้งานที่แปลก ๆ จะใช้สายพานประเภทไหนดีถึงจะเหมาะหลาย ๆ ประเภทไม่มีการผลิตในประเทศไทย
X-Lift และรถกระเช้าขากรรไกร คืออะไร?
X-Lift และรถกระเช้าขากรรไกรคือ “ aerial working platform “ถูกสร้างมาสำหรับเพิ่มความปลอดภัยและความรวดเร็วในการทำงานในที่สูงที่ไซต์งาน
โดยมีจุดเด่นที่สามารถบรรทุกคนและอุปกรณ์ขื้นไปทำงาน #ในที่สูงและสามารถเคลื่อนที่จุดทำงานจุดหนึ่งไปยังอีกจุด ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย‼️ ไม่ต้องเสียเวลา กับกระบวนการติดตั้งและเก็บรวดเร็วกว่านั่งร้าน
**รถกระเช้าขากรรไกร** บางกอกเจนนำมาบริการจะมีความสูงตั้งแต่ 4 – 22เมตร
โดยรถกระเช้าขากรรไกรขนาด 22เมตรที่บางกอกเจนนำมา ให้บริการคือรถกระเช้าขากรรไกรที่มีขนาดสูง ที่สุดในประเทศไทย
สกรูคอนเวเยอร์ (Screw Conveyor)
งานสกรูลำเลียง หรือเกลียวลำเลียง เหมาะสำหรับ การลำเลียงขนถ่ายวัสดุที่เป็นผง สามารถสั่งทำได้ทุกแบบ ทุกขนาด ตามความต้องการของลูกค้า
ช่องทางการติดต่อเรา
K.M.S. Engineering & Supply Co.,Ltd.
บริษัท เค.เอ็ม.เอส. เอนจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย จำกัด
[email protected]
โทรศัพท์: 0829697889, 0656479414
ID LINE : poonsak.sons
เลขที่ผู้เสียภาษี:0205561017924